การละเล่นพื้นเมือง

ภาคกลางมีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสาย เหมาะแก่การกสิกรรม ทำนา ทำสวน ประชาชนอยู่อย่างอุดมสมบูรจึงมีการเล่นรื่นเริงในโอกาสต่าง ๆ มากมายทั้งตามฤดูกลาตามเทศกาล และตามโอกาสที่มีงานรื่นเริงภาคกลางเป็นที่รวมของศิลปวัฒนธรรมการแสดงจึงมีการถ่ายทอดสืบต่อกัน และพัฒนาดัดแปลงขึ้นเรื่อยๆจนบางอย่างกลายเป็นการแสดงนาฏศิลป์แบบฉบับไปก็มี เช่น รำวงและเนื่องจากเป็นที่รวมของศิลปะนี้เอง ทำให้คนภาคกลางรับการแสดงของท้องถิ่นใกล้เคียงเข้าไว้หมดแล้วปรุงแต่งตามเอกลักษณ์ของภาคกลางคือการร่ายรำที่ใช้มือ แขนและลำตัว เช่นการจีบมือ ม้วนมือ ตั้งวง การอ่อนเอียง และยักตัวดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง   ได้แก่ วงปี่พาทย์เพลงพื้นเมืองภาคกลาง เช่น เพลงเหย่อย เพลงเทพทอง เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงสงฟาง เพลงพิษฐาน เพลงเต้นกำ เพลงรำเคียว เพลงพวงมาลัยเพลงชาวไร่ เพลงระบำ เพลงบ้านนา เพลงปรบไก่ เพลงสวรรค์ เพลงแอ่นหวานเพลงพื้นเมืองบางอย่างได้วิวัฒนาการมาเป็นการแสดงที่มีศิลปะมีระเบียบแบบแผน เช่น เพลงทรงเครื่อง คือ เพลงฉ่อย ที่แสดงเป็นเรื่อง ได้แก่ เรื่องขุนช้างขุนแผน หรือเรื่องที่แต่งขึ้นมาใหม่
         ลักษณะการแสดง เริ่มด้วยการไหว้ครู แล้วว่าประ แก้กันอย่างเพลงฉ่อยตามประเพณี แล้วก็แสดงเป็นเรื่องอย่างละคร ร้องดำเนินเรื่องด้วยเพลงฉ่อย

และเพลงอื่นแทรกบ้าง ใช้วงปี่พาทย์รับการร้องส่งบ้างหรือบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ประกอบกิริยาของตัวละครบ้าง

ความหมายของคำว่า "การละเล่นพื้นเมือง"
         "การละเล่น" เป็นคำที่เกิดขึ้นใหม่ ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาไทยบางท่านกล่าวว่าเป็นการปรับเสียงคำว่า "การเล่น" ให้ออกเสียงง่ายขึ้น ผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากรให้ความหมายกว้างออกไปถึงการเล่นเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ ให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจหลังประกอบกิจประจำ และการเล่นในเทศกาลท้องถิ่นหรือในงานมงคลบ้าง เช่น เพลงพื้นเมือง ละคร ลิเก ลำตัด หุ่น หนังใหญ่ ฯลฯ
การละเล่นพื้นเมือง หมายถึง การแสดงแต่ละอย่างอันเป็นประเพณีนิยมกันในท้องถิ่น ซึ่งเล่นกันในระหว่างประชาชน เพื่อให้เกิดความสนุกสนานรื่นเริงตามฤดูกาล การแสดงจะต้องเป็นไปอย่างมีวัฒนธรรม มีความเรียบร้อย ต้องใช้ถ้อยคำสุภาพไม่หยาบโลนหรือเสื่อมเสียศีลธรรม แต่งกายให้สุภาพถูกต้องตามความนิยม และวัฒนธรรม เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ตลอดจนสถานที่ก็ต้องจัดให้เหมาะสมกับโอกาสทีจะแสดงเนื่องจากการละเล่นพื้นเมืองจัดเป็นส่วนหนึ่งของนาฏศิลป์ไทย อ.สุมิตร เทพวงษ์ ได้แบ่งการละเล่นพื้นเมืองออกเป็น 2 ลักษณะ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนาฏศิลป์เพื่อความเข้าใจ และเหมาะสมในการศึกษาค้นคว้า ดังนี้

1.      การละเล่นพื้นเมืองในรูปแบบของ "เพลงพื้นเมือง" หรือ "เพลงพื้นบ้าน" (Folk Songs)

2.      การละเล่นพื้นเมืองในรูปของ "การแสดงพื้นเมือง" (Folk Dances)

 

Free Web Hosting